วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียยรู้ครั้งที่ 16 วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม

บันทึกการเรียยรู้ครั้งที่ 16 


 วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการปิดครอสเรียนอาจารย์ได้ให้นำผลงานที่ตนเองและเพื่อนๆทำมาตลอดทั้งเทอมมาแสดงผลงาน 






บันทึกการเรียยรู้ครั้งที่ 16












อาจารย์ได้เสนอแนะผลงานแต่ละชิ้นควรปรับปรุงตรงไหนอย่างไรให้ออกมาสมบูรณ์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขั้น ดุ๊ ก ดิ๊ กเคลื่อนไหว





วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560



ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้นำเสนอผลงานคนละสองชิ้นที่ตนเองได้ทำมา และบอกวิธีการทำและวิธีการเล่นให้เพื่อนๆได้รู้ผลงานที่ตนเองทำมา 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันอังคารที่  18 เมษายน 2560 

ความรู้ที่ได้รับ 
อาจารย์แนะนำสื่อให้นักศึกษาได้ลองปฎิบัติ





**เนื่องจากวันนี้ไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงจากนางสาวจุฑาทิพย์ ตาบุญมา ***


บันการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ดุ๊ ก ดิ๊ ก แต่ง เว็บ


ความรู้ที่ได้รับ

       อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเกี่ยวกับเกมการศึกษา

เกมการศึกษาที่คุณครูมอบหมายได้แก่

-ภาพตัดต่อ
-จับคู่ภาพเหมือนกัน
-จับคู่ภาพเงา
-สังเกตรายละเอียดของภาพ
-จับคู่หมวดหมู่


***เนื่องจากวันนี้ไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงจากนางสาวจุฑาทิพย์ ตาบุญมา***

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์บาสให้ทำสื่อน่ารักและสามารถสอนได้จริงจากเพจ 拼學趣  ซึ่งมีสื่อที่่ารักและมีขั้นตอนทำที่ง่ายๆสามารถทำเองได้โดยใช้เวลาไม่นานและให้ทำคนละ 2 ชิ้น




หลังจากนั้นก็นัดวันเวลาส่งงานตนละ2ชื้น

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2660

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2660

ความรู้ที่ได้รับ 
      อาจารย์บาสสอนสื่อ 2 ชิ้น ชิ้นแรกทำเป็นเครื่องดนตรีที่ง่ายและสวยงาม


ชิ้นแรก คือ เขย่าสิดอกไม้

อุปกรณ์
- กระดาษ
- ตะเกียบ
- ลูกปัด
- กาวร้อน
- คัตเตอร์
- เทป
- กรวยกระดาษ
- กรวย


ชิ้นที่ 2 ทำโมยบายเอาไว้ตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม

อุปกรณ์
- กระดาษสี 
- คัตเตอร์
- กาว
- ตะกียบ




***เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงอ้างอิงมาจาก นางสาว จุฑาทิพย์ ตาบุญมา ***

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์บาสสอนสื่อที่สามารถทำเป็นวัฎจักรของสัตว์หรือพืชที่อยากจะสอนเด็กๆ

อุปกรณ์
-กระดาษ
-สี



**เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงอ้างอิงจาก นางสาว จุฑาทิพย์ ตาบุญมา***

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 9 วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 9


วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2560

ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์บาสได้สอนนักศึกษาทำสื่อสองอย่าง ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยแบ่งกันทำเป็นกลุ่ม สื่อที่ทำชิ้นแรกสามารถนำมาเล่านิทานได้ และเคลื่อนไหวไปตามเนื้อเรื่อง




สื่อชิ้นที่ 2

       เป็นสื่อที่เรานำเสนอเป็นการ์ตูนรูปจระเข้ ที่สามารถอ้าปากและหุบได้

        สื่อแต่ละชิ้นที่ทำในวันนี้ถือเป็นสื่อที่มีประโยชน์มากๆ เพราะมันสามารถเก็บไว้ได้นาน ใช้ได้หมายครั้ง เมื่อนำไปสอนเด็กๆแล้วเด็กสามารถจับต้องและเคลื่อนไหวได้

ประเมินผล 
-อาจารย์ ได้อธิบายขั้นตอนการทำ และเดินดูที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำเมื่อไม่เข้าใจตรงไหนอาจารย์ก็จะอธิบายและช่วยทำและแก้ไข
-ตนเอง ได้ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
-เพื่อน ตั้งใจทำงานกลุ่มได้ดี 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ดุ๊ ก ดิ๊ ก แต่ง เว็บ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 

 ความรู้ที่ได้รับ

                อาจารย์บาสสอนให้นักศึกษาทำสื่อขึ้นมา สองชิ้นง่ายๆที่สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วย โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดูสอนทั้งวิธีทำและวิธีเล่น



ชิ้นที่ 1 
อุปกรณ์
- ตะเกียบ 
- กระดาษ 
- สีไม้
- กาว
วิธีเล่น
พนมมือแล้วนำตะเกียบเสียบไว้ตรงกลาง แล้วกระปั่นตะเกียบให้มันหมุนสลับไปมา







ชิ้นที่ 2

          เพื่อนคนอื่นชิ้นงานสามารถเลือกให้แม่ไก่สามารถออกไข่เป็นอะไรก็ได้ เป็นไข่ไก่ หรือลูกบอลก็ได้ตามใจชอบ
อุปกรณ์
-กระดาษ
-สีไม้ 
-คัตเตอร์
-กาว
วิธีเล่น
ดึงกระดาษแผ่นยาวให้เหมือนแม่ไก่ฟักไข่




ชิ้นที่ 3 

เป็นการสอนเรื่องหมดต่างๆ แล้วแต่ว่าอยากสอนอะไร เช่น รูปทรง สี ผลไม้ ฤดูกาล

อุปกรณ์
- กระดาษ
- สี
- กาว 
- กรรไกร



ประเมิน 
-อาจารย์ ได้อธิบายและช่วยนักศึกษาที่ทำไม่ได้
-ตนเอง ได้ตั้งใจทำสื่อ3ชิ้นนี้ด้วยความตั้งใจ
-เพื่อน ทำสื่อชิ้นนี้ด้วยความตั้งใจ 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ดุ๊ ก ดิ๊ ก แต่ง เว็บ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้ได้ไปทัศนศึกษาที่"ศึกษาภัณฑ์" สาขาราชดำเนิน โดยอาจารย์ให้ไปดูสื่อเกี่ยวเด็กปฐมวัยที่อยู่หลายแบบด้วยกัน รวมทั้งที่นี่ยังมีสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอื่นๆอีกมากมาย 




     ศึกษาภัณฑ์ครั้งนี้เป็นการไปศึกษานอกสถานที่ที่ได้ความรู้และเห็นสื่อการสอนที่หลายประเภทซึ่งสื่อต่างๆสามารถนำมาพัฒนาให้ดีขึ้นได้โดยการนำเป็นแนวทางในการทำสื่อ  


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ดุ๊ ก ดิ๊ ก แต่ง เว็บ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


      ประดิษฐ์การ์ดในวันวาเลนไทน์เป็นรูปดอกไม้ป๊อบอัพ




 เด็กๆสามารถทำได้ซึ่งช่วยในเรื่องพัฒนาการทางด้านร่างกาย ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ได้คุยกับเพื่อนทำงานร่วมกัน

ประเมินผล 
-อาจารย์ ได้ช่วยทำและอธิบายการทำอย่างละเอียดเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจก็จะอธิบายอย่างละเอียดเสมอ
-ตนเอง ได้ตั้งใจทำการ์ดออกมาแต่ทำผิดกระบวนการเลยดึงป็อบอัพไม่ออก
-เพื่อน สนใจกับการทำการ์ด 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้

         การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่าย ๆครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ
เกมการศึกษา
         หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
 2.1 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
 2.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
 2.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
 2.4 เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 2.5 เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
 2.6 เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
หลักการใช้เกมการศึกษา
   การใช้เกมการศึกษาควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ

ประโยชน์ของเกมการศึกษา
          เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ดุ๊ ก ดิ๊ ก แต่ง เว็บ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
               สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

แบ่งสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท
    1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์
   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    
  3.2 การทดลอง   
  3.3 เกม 
  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   
  3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา  
  3.8กิจกรรมอิสระ   
  3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
 7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
 8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้
10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

รูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 24 มกราคม 2560




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่  24  มกราคม  2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 




ความหมายและความสำคัญของสื่อ

  ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับ ซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยินการสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะนึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือเนื้อความหรือความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับหรืออาจจะพิจารณาว่า เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือ อากัปกริยาต่าง ๆ



ความสำคัญของสื่อ 
   - เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
   - เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้และเป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก
   - เป็นเครื่องมือที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมและจะทำให้เด็กจดจำได้นาน
 - สื่อเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด 
























สรุป